Powered By Blogger

อยากรู้อะไรให้ถาม GOO

วันอาทิตย์, กันยายน 13

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์ หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่
1. การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมเป็น หลักในการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง เช่น
1.1 เพื่อการตรวจและวินิจฉัยโรค เครื่องเอกซเรย์ เครื่องโทโมกราฟีแบบคอมพิวเตอร์เครื่องถ่ายภาพแบบนิวเคลียร์แมกนิติกเร โซแนน์อิมเมจเครื่องถ่ายภาพโดยเรดิโอกราฟฟี เครื่องอุลตราซาวด์ เครื่องตรวจการทำงานขอหัวเครื่องตรวจการรับฟังเสียง
1.2 เพื่อการรักษาพยาบาล มีดผ่าตัดเลเซอร์ เครื่องกรอคราบหินปูนที่ฟันโดยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องนวดคลายความเมื่อยล้าโดยคลื่นเสียงความถี่สูง เครื่องฉายรังสี เครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนในระหว่างการผ่าตัด เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ แว่นตา คอนแทกเลนส์- การสร้างอวัยวะเทียม
1.3 เพื่อการป้องกันโรค เตาอบและตู้อบฆ่าเชื้อ การใช้รังสี เครื่องฉายรังสี อุปกรณ์สำรหับการสวมครอบหรือสอดใส่เข้าไปในรูหู
2. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการผลิตยา สาร หรือวิธีการที่ใช้ในทางการแพทย์ ในการพัฒนาบางครั้งต้องอาศัยเทคโนโลยี เทคนิค และวิธีการต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคนิคทางด้านวิศวกรรม ได้แก่ การพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อซึ่งเก็บตัวอย่างมาจากผู้ป่วย การสร้างเด็กหลอดแก้ว การหาสาเหตุและการรักษาโรคที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม อุตสาหกรรมการผลิตยา การผลิตเซรุ่ม การผลิตวัคซีนป้องกันโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

l

การศึกษาของมัลติมีเดีย


เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีความสำคัญกับการเรียนในระบบออนไล์
หรือเรียนผ่านระบบเครือข่าย (e-Learning) เพราะผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับระบบได้และยังสามารถเก็บข้อมูลสถิติการเรียน การทดสอบได้
เทคโนโลยีมัลติมีเดียยังมีความสำคัญกับการให้บริการสารสนเทศในองค์กรต่าง ๆ
ข้อดีและข้อเสีย
1. เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียน
ตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้ทางการเรียน การวิจัย

2. สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย
พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย

3.สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้


4. มีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring Tools)
ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้

5. ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่
เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา

6.สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น
ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่
ตนเองต้องการ

7. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดียสนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ ทุกระดับอายุ และความรู้

8. สื่อมัลติมีเดียช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียน หน่วยงานอื่นๆความก้าวหน้าของระบบครือข่าย

ประเภทของสื่อมัลติมิเดียเพื่อการศึกษา

1. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมเป็นฐานในการนำเสนอข้อมูลด้วย เช่น
ควบคุมการเสนอภาพสไลด์มัลติวิชั่น ควบคุมการนำเสนอในรูปแบบของวิดีโอเชิงโต้ตอบ
(Interactive Video) และเครื่องเล่นซีดี-รอม ให้เสนอภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
2. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ
โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตแฟ้มสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
และนำเสนอแฟ้มที่ผลิตแล้วแก่ผู้ศึกษา ผู้ศึกษาก็เพียงแต่เปิดแฟ้มเพื่อเรียน
หรือใช้งาน ตามที่โปรแกรมสำเร็จรูปกำหนดไว้ ก็จะได้เนื้อหาลักษณะต่าง ๆ
อย่างครบถ้วน โดยการนำเสนอข้อมูลของสื่อมัลติมีเดียนี้
จะเป็นไปในลักษณะสื่อมัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์

ที่มา: http://gotoknow.org/blog/iaumba/75754
http://my.dek-d.com/kia27/diary/index.php?id=371389